วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2562

ดอกไม้ประจําชาติ โคลัมเบีย ดอกกล้วยไม้คัทลียา Cattleya Trianae

ดอกไม้ประจำชาติโคลัมเบีย

ดอกกล้วยไม้คัทลียา Cattleya Trianae



      วัสดีค่ะวันนี้จะพาไปรู้จักกับดอกไม้ประจำชาติโคลัมเบีย​ อย่างที่ทราบกันดีนะค่ะว่าดอกไม้ประจำชาติของโคลัมเบีย นั้นคือก็ดอกกล้วยไม้คัทลียาไปรู้จักกันเลยค่ะ.




ประเทศโคลัมเบียมีดอกไม้ประจำชาติคือ ดอกกล้วยไม้คัทลียา Cattleya Trianae ซึ่งได้ปรากฏอยู่บนธงชาติของประเทศด้วย ดอกคัทลียาสัญลักษณ์ของประเทศนี้จะมีกลีบดอกสีม่วงหยักพริ้ว มีเกสรสีเหลือง
กล้วยไม้สกุลนี้มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศที่ค้นพบใหม่
แคทลียา
ชื่อวิทยาศาสตร์Cattleya John Lindley
ชื่อสามัญ Cattleya
คัทลียาเป็นพืชดอกในวงศ์กล้วยไม้ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 113 สปีชีส์ มีถิ่นกำเนิดมาจากคอสตาริกา และแพร่กระจายไปสู่อเมริกาเขตร้อน ในปี พ.ศ. 2367 John Lindley ได้ตั้งชื่อดอกไม้ชนิดนี้ตามชื่อของ Sir William Cattley ซึ่งเป็นคนแรกที่ปลูก Cattleya labiata จนมีดอกให้เห็น
ผู้ที่นำกล้วยไม้สกุลคัทลียามาปลูกในประเทศไทยเป็นครั้งแรกคือ นรี อาลาบาศเตอร์ โดยปลูกในพระราชอุทยานสราญรมย์ในสมัยรัชกาลที่ 5
สามารถแบ่งกล้วยไม้ในสกุลนี้ได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ด้วยกัน คือ
1. Unifoliate group
กลุ่มนี้จะมีใบเพียง 1 ใบเท่านั้นใน 1 ลำลูกกล้วย มีดอกขนาดใหญ่ กลีบดอกสีม่วง หรือสีชมพูอ่อน
2. Bifoliate group
กลุ่มนี้จะมีมากกว่า 1 ใบใน 1 ลำลูกกล้วย ขนาดดอกค่อนข้างเล็ก ในแต่ละช่อมีดอกประมาณ 5-20 ดอก กลีบดอกเป็นมัน รูปทรงคล้ายหอก มีทั้งสีเหลือง เขียว น้ำตาลเขียว น้ำตาล ส้ม แดงส้ม ขาว ชมพูม่วง กลีบดอกของบางชนิดจะมีจุดสีน้ำตาลหรือม่วงแดงแต้มอยู่ บางชนิดมีกลีบดอกสีเขียวอมน้ำตาลแต่มีปากสีชมพูสด เช่น Cattleya bicolor  ระหว่าง 2 กลุ่มนี้จึงมักนิยมนำมาผสมข้ามพันธุ์กันในปัจจุบัน


ลักษณะทั่วไปของคัทลียา
ลำต้น มักเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ หรือโขดหิน ลำต้นมีขนาดประมาณ 5-120 ซม. ลำลูกกล้วยจะมีรูปทรงคล้ายท่อนอ้อยหรือกระบอง
ใน 1 ลำลูกกล้วยจะมีใบตั้งแต่ 1-3 ใบ ลักษณะของใบจะแบนหรือเป็นร่อง ผิวใบคล้ายหนัง ปลายใบโค้งมนหรือแหลม เมื่อเจริญไปได้ระยะหนึ่งที่ลำลูกกล้วยจะมีเยื่อบางๆ หุ้มอยู่
ราก มีลักษณะเป็นสีขาวแบบรากกึ่งอากาศ รูปทรงกระบอก ส่วนของปลายรากอาจมีสีเขียว หรือสีเขียวน้ำตาลหุ้มอยู่ ซึ่งรากเหล่านี้จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก
ในแต่ละช่อจะมีจำนวนดอกตั้งแต่ 1-15 ดอก มีกลีบดอกชั้นนอก 3 กลีบ ส่วนกลีบดอกชั้นในมีขนาดใหญ่มีอยู่ 2 กลีบ ปากมี 3 ส่วนคือ ปากด้านข้างทั้งสองข้าง (side lobes) และ ปากส่วนกลาง (mid lobe) ส่วนของปากกลุ่มที่เป็น unifoliate จะเชื่อมต่อกัน ในขณะที่ส่วนของปากกลุ่มที่เป็น bifoliate จะมีการคอดเว้า โดยที่ปากด้านข้างทั้งสองและปากส่วนกลางจะแยกกันอย่างชัดเจน ลักษณะของเกสรจะเป็นแท่งยื่นออกมา จำนวน pollinia ในคัทลียาทุกสกุลมีอยู่ 4 อัน โดยที่ในถุงอับเกสรตัวผู้แต่ละอันจะมีอยู่ 2 pollinia ดอกมักมีกลิ่นหอม
การปลูกคัทลียา วัสดุที่ใช้ปลูกควรเป็นวัสดุที่โปร่ง สามารถระบายน้ำได้ดี เช่น อิฐมอญทุบ ถ่าน หรือเปลือกไม้ ไม่แนะนำให้ใช้กาบมะพร้าว แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ก็ควรจับให้อยู่ในแนวตั้ง ภาชนะที่ใช้ปลูกควรเป็นกระถางดินเผาที่มีการเจาะรูด้านข้างด้วย คัทลียาไม่ชอบอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ควรให้ความชื้นที่เหมาะสม และพรางแสงให้ประมาณ 60-70% หากเป็นตอนกลางคืนควรให้อุณหภูมิอยู่ที่ 13 องศาเซลเซียส ส่วนตอนกลางวันอุณหภูมิควรอยู่ที่ 25-28 องศาเซลเซียส ควรเปลี่ยนกระถางและวัสดุปลูกเสียใหม่หลังจากปลูกไปได้ 2-3 ปีแล้ว
ควรใช้หัวสปริงเกิลเพื่อให้น้ำ วันละ 1 ครั้ง ในช่วงเช้าจนชุ่ม แต่อาจให้ซ้ำได้อีกครั้งในช่วงหน้าแล้ง การให้น้ำหลังจากพระอาทิตย์ตกดินแล้วอาจทำให้เกิดโรคเน่าได้ และในช่วงที่ดอกบานไม่ควรให้น้ำโดนดอก
ในระยะแรกที่ปลูกควรให้ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 หรือ 30-20-10 และให้ใช้ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสอยู่สูงเมื่อต้นเริ่มแข็งแรงดีเพื่อกระตุ้นให้เกิดดอก ในช่วงที่ให้ดอกแล้วควรสลับมาให้ปุ๋ยสูตรเสมอสลับกันบ้าง
แคทลียามักมีแมลงรบกวน เช่นพวก เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ และไรแดง หากมีการระบาดมากก็ควรใช้ยาฉีดพ่นเพื่อกำจัดบ้าง หากมีหอยกัดกินยอดอ่อน ก็ควรขับไล่ด้วยการโรยยาพวกเมทัลดีไฮด์
คัทลียามักเกิดโรคที่พบได้บ่อยคือ
1. โรคเน่าดำ (black rot)
เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora มักระบาดในช่วงฤดูฝน จะทำให้ยอดเน่าเป็นสีน้ำตาล หากเกิดกับรากก็จะทำให้เน่าแห้ง ควรใช้ยาพวก อีทริไดอะโซล โฟซีทิล-อลูมิเนียม หรือ แมนโคแซป เพื่อกำจัด
2. โรคเน่า (rot)
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas cattleyae หากปลูกต้นชิดกันเกินไปมักจะเกิดโรคและระบาดได้ง่าย ลักษณะของโรคจะคล้ายกับถูกน้ำร้อนลวก มักเกิดบริเวณใบหรือหน่ออ่อน หากพบใบที่เป็นโรคควรเด็ดออก แล้วเผาทำลายเสีย ควรใช้ยาพวก ไฟโตมัยซิน เพื่อกำจัด
ภายในโรงเรือนที่ปลูกควรมีการดูแลเรื่องการถ่ายเทของอากาศ เพราะวัชพืชและตะไคร่น้ำมักเกิดขึ้นเมื่อมีความชื้นมากเกินไป ซึ่งจะไปขัดขวางการเจริญเติบโตของคัทลียาและอาจทำให้เกิดโรคได้ง่าย หากเกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นควรใช้ ไดยูรอน ฉีดพ่น หลังจากให้น้ำจนชุ่มแล้วประมาณ 3-4 ชั่วโมง หลังจากพ่นยาแล้วควรหยุดให้น้ำก่อนประมาณ 2-3 วัน


ที่มา:https://www.vichakaset.com/%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%b5%e0%b8%a2/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น