วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ดอกไม้ประจำชาติของสาธารณรัฐจีน ดอกพลัมหรือดอกบ๊วย

ดอกไม้ประจำชาติของสาธารณรัฐจีน
ดอกพลัมหรือดอกบ๊วย 


     สวัสดีค่าทุกคนรู้จักดอกไม้ประจำชาติจีนกันหรือยัง ถ้ายังเรามาชมกันเลยจ้า


     ดอกไม้ประจำชาติของสาธารณรัฐจีน คือดอกพลัม หรือ ดอกบ๊วย (plum blossom) ได้รับการกำหนดให้เป็นดอกไม้ประจำชาติโดยสภาบริหาร (Executive Yuan) แห่งสาธารณรัฐจีน เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ปี ค.ศ. 1964  ดอกพลัมมีขื่อเรียกในภาษาจีนว่าเหมยฮัว  เป็นดอกไม้ที่มีสัญลักษณ์หมายถึงความเข้มแข็ง มั่นคงและอุตสาหะ เนื่องจากดอกพลัมสามารถบานสะพรั่งที่สุดได้แม้ท่ามกลางหิมะในฤดูหนาว

ต้นพลัมมักมีอายุยืนยาว จึงมักพบต้นพลัมโบราณได้ทั่วไปในประเทศจีน ที่เมืองฮวงเหมย  ในมณฑลหูเป่ย์   มีต้นพลัมอายุกว่า 1,600 ปี จากสมัยราชวงศ์จินที่ยังคงออกดอกงดงาม



 เกสรทั้งสามของดอกพลัมมีความหมายถึง "หลัก 3 ประการแห่งประชาชน"  หรือที่เรียกกันว่า "ลัทธิไตรราษฎร์" (ซันหมินจู่อี้) ของผู้เป็น "บิดาของชาติ" คือ ซุนยัตเซ็น  ในขณะที่กลีบดอกทั้งห้ากลีบหมายถึง ร้ฐธรรมนูญการปกครองแบบ 5 สภา (The five branches of the government หรือ The Five Yuans)  ได้แก่ (1) สภาบริหาร (The Executive Yuan) (2) สภานิติบัญญัติ (The Legislative Yuan) (3) สภาตุลาการ (The Judical Yuan) (4) สภาตรวจสอบและคัดเลือก (The Examination Yuan) (5) สภาควบคุม (The Control yuan) เป็นส่วนของการบริหารประเทศสูงสุด 


เนื่องจากดอกพลัมนี้ยังมีความแปลกและแตกต่างจากดอกไม้อื่นคือ บานในฤดูหนาว โดยดอกพลัมจะผลิดอกออกมาก่อนที่ใบจะเริ่มผลิออกมาในฤดูใบไม้ผลิ ถือได้ว่าเป็นดอกไม้ดอกแรกของปี เนื่องจากจะเริ่มบานในเดือนมกราคม หรือเดือนหนึ่ง ซึ่งเป็นฤดูหนาว และเป็นดอกไม้ชนิดเดียวของฤดูนี้ จึงเป็นที่นิยมใช้เป็นดอกไม้ประดับตกแต่งในช่วงปีใหม่ของจีน หรือช่วงตรุษจีน

ปัจจุบันประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (China) ยังไม่มีการกำหนดดอกไม้ประจำชาติ แต่โดยธรรมเนียมแล้วในหลายพื้นที่มีการกำหนดสัญลักษณ์บ่งชี้ที่มีความเกี่ยวพันกับสัญลักษณ์ประจำชาติอยู่ด้วย
ในปี ค.ศ. 1903 สมัยราชวงศ์ชิง (Qing Dynasty) ได้มีการประกาศให้ดอกโบตั๋น (อังกฤษ: peony; จีน: 牡丹; พินอิน: mǔ dān) เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของประเทศ ดอกโบตั๋นมีความหมายถึงความเจริญมั่งคั่ง ร่ำรวย มียศศักดิ์

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 ที่รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าปกครองประเทศจีนนั้น มิได้มีการกำหนดดอกไม้ประจำชาติไว้แต่อย่างใด เคยมีการจัดสำรวจคัดเลือกดอกไม้ประจำชาติขึ้น ในปี ค.ศ. 2005 โดยมีประชาชนเลือกดอกโบตั๋นให้เป็นดอกไม้ประจำชาติร้อยละ 41 ในขณะที่มีประชาชนร้อยละ 36 เลือกดอกพลัม แต่รัฐบาลก็มิได้มีการประกาศดอกไม้ประจำชาติแต่อย่างใด นักวิชาการบางคนเคยให้ข้อเสนอแนะให้มีดอกไม้ประจำชาติสองชนิด คือทั้งดอกโบตั๋นและดอกพลัม นอกจากนี้ยังมีดอกไม้อื่น ๆ ที่เป็นที่นิยมในประเทศจีนและอาจมีสิทธิ์เป็นดอกไม้ประจำชาติจีนได้ เช่น ดอกกล้วยไม้ ดอกมะลิ ดอกแดฟโฟดิล (daffodil) ดอกเบญจมาศ เป็นต้น


บ๊วย ( Chinese plum, Japanese apricot; ชื่อวิทยาศาสตร์: Prunus mume) เป็นผลไม้ที่อยู่ในสกุล Prunus มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน และพบในไต้หวัน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม และลา

ดอกของบ๊วย

บ๊วย ( Chinese plum, Japanese apricot; ชื่อวิทยาศาสตร์: Prunus mume) เป็นผลไม้ที่อยู่ในสกุล Prunus มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน และพบในไต้หวัน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม และลาว ในประเทศไทยนิยมปลูกบริเวณภาคเหนือของไทย เช่น ดอยอ่างขาง ในโครงการหลวง โดยนำพันธุ์มาจากไต้หวันและญี่ปุ่น ใบขนาดเล็ก สีเขียวอมเทา ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกมีกลิ่นหอม สีขาวหรือชมพู ผลเล็ก ทรงกลม เมื่ออ่อน ผลสีเขียว เมื่อสุกสีเหลิอง เนื้อนิ่ม รสเปรี้ยวอมหวาน เมล็ดแข็ง

ผลของบ๊วย

ประโยชน์ของบ๊วย
บ๊วยจัดเป็นผลไม้ที่มีสรรพคุณหลายอย่าง และเป็นที่รู้จักกันดีในการนำเอาผลไปใช้ประโยชน์ เช่น การนำไปทำเป็นน้ำบ๊วย เพื่อ 
1. ช่วยในการเพิ่มกำลัง บรรเทาอาการอ่อนเพลีย 
2. ช่วยในการเสริมสร้างระบบการย่อยอาหาร 
3. ช่วยลดมลพิษและอาหารที่เป็นพิษที่ร่ายกายและยังช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร 
4. ช่วยแก้เหงือกอักเส บที่เป็นปัญหาของกลิ่นปาก
5. แก้อาการเมาค้าง ไม่ว่าจะเกิดจากการดื่มสุรา หรือจากการเดินทาง เช่น เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน และอาหารไม่ย่อย
6. ช่วยปรับสมดุลในกระเพาะอาหารให้มีความมั่งคงแข็งแรง 
7. ช่วยแก้อาการแพ้ท้อง 
8. ช่วยลดอาการกระหายน้ำ ลดการเสียเหงื่อในร่ายกาย โดยส่วนใหญ่นำไปแปรรูปเป็นบ๊วยแช่อิ่ม, บ๊วยดอง, บ๊วยเค็ม หรือใช้ทำอาหารเช่น น้ำจิ้มบ๊วย, ซอสบ๊วย, ปลานึ่งบ๊วย เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น