วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ดอกไม้ประจำชาติของสเปน ดอกคาร์เนชั่นสีแดง

ดอกไม้ประจำชาติสเปน
ดอกคาร์เนชั่นสีแดง




    สวัสดีค่ะวันนี้จะพาทุกคนมารู้จักกับดอกไม้ประจำชาติของสเปนนั้นก็คือดอกคาร์เนชั่นสีแดงไปดูกันเลยค่ะ
ดอกคาร์เนชั่น (Carnation, Dianthus caruyophyllus)
    คาร์เนชั่นเป็นไม้ตัดดอกยอดนิยมชนิดหนึ่ง มีอยู่หลากหลายพันธุ์ และสีสัน มีทั้งที่เป็นชนิดดอกเดี่ยว ดอกช่อ มีทั้งสีขาว สีเหลือง สีชมพู สีส้ม สีม่วง และสีแดง หรือมีมากกว่า 1 สีในดอกเดียวกัน คาร์เนชั่นจะชอบอากาศที่หนาวเย็น เป็นไม้ตัดดอกที่สามารถบานทนอยู่ได้นานแม้จะมีกลีบดอกที่บอบบาง และให้ดอกที่มีคุณภาพได้ตลอดทั้งปี และบางพันธุ์ยังมีกลิ่นหอมอีกด้วย

ชื่อสามัญคือ: Carnation 
ชื่อวิทยาศาสตร์:Dianthus caryophyllus 
จัดอยู่ในวงศ์ : Caryophyllaceae



ถิ่นกำเนิดของคาร์เนชั่นมาจากยุโรปตอนใต้ ลักษณะเป็นไม้ดอกล้มลุก ในบางพื้นที่อาจปลูกได้ฤดูเดียวหรือหลายฤดู ซึ่งขึ้นอยู่กับแหล่งที่ปลูกและการดูแลรักษา ใบของคาร์เนชั่นมีลักษณะเป็นรูปแถบเรียวยาว สีเขียวเข้มอมฟ้า ลำต้นสามารถแตกกิ่งก้านออกได้ บริเวณโคนใบจะพองออกเล็กน้อย ดอกคาร์เนชั่นมีลักษณะเป็นรูปถ้วย มีทั้งชนิดที่เป็นดอกเดี่ยวและดอกช่อ กลีบดอกฟู ขอบหยักเป็นแฉกคล้ายฟันเลื่อยซ้อนกัน มีทั้งสีขาว ชมพู เหลือง ส้ม แดง หรือมีสีอื่นขลิบที่ปลายดอก หรือมีอาจมีหลายสีในดอกเดียวกัน ดอกมีขนาดประมาณ 1.5-3 นิ้ว มีกลีบรองดอกสีเขียวรวมติดกันอยู่เป็นรูปกรวย
การปลูกคาร์เนชั่นให้มีคุณภาพและได้ผลผลิตดีที่สุดนั้น แหล่งที่ปลูกต้องมีอุณหภูมิประมาณ 50 องศาฟาเรนไฮต์ในตอนกลางคืน ส่วนกลางวันประมาณ 55 องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งธรรมชาติของดอกไม้ชนิดนี้จะชอบอากาศที่เย็น และมีแดดจัด สำหรับดินที่ใช้ปลูกควรเป็นดินที่มีความร่วนซุย มีความเป็นกรดเล็กน้อย หรือมีค่า pH ระหว่าง 6.0-7.0 สามารถระบายน้ำและอากาศได้ดี มีอินทรีย์วัตถุอยู่ในปริมาณสูง ควรมีการฆ่าเชื้อในดินด้วยไอน้ำ หรือสารเคมีพวก methyl bromide เนื่องจากโรคต่างๆ มักเกิดขึ้นได้ง่ายกับคาร์เนชั่น ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษเกี่ยวกับความสะอาดของดิน
การขยายพันธุ์ที่นิยมทำกันอยู่ทั่วไปมีอยู่ 3 วิธีคือ
1. การใช้เมล็ด
2. การปักชำกิ่ง ซึ่งวิธีนี้เป็นที่นิยมทำกันมากที่สุด
3. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
    เมื่อกลีบชั้นนอกเริ่มบานตั้งฉากกับกลีบเลี้ยงก็ให้ทำการตัดดอกได้ แต่ถ้าเป็นคาร์เนชั่นชนิดดอกช่อ (spray cultivars) ให้ตัดเมื่อดอกย่อยเริ่มบานได้ 2 ดอก และเริ่มเห็นสีของดอกที่เหลือในช่อแล้ว อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดดอกควรเป็นมีด หรือกรรไกรที่มีความคม และไม่ควรตัดดอกจากต้นที่เป็นโรค
ดอกคาร์เนชั่นที่ยังไม่บานเต็มที่ควรเก็บรักษาไว้ในที่แห้งและมีอุณหภูมิประมาณ -0.5 ถึง 0 องศาเซลเซียส จะทำให้คงสภาพอยู่ได้นานถึง 3 หรือ 4 สัปดาห์ ส่วนดอกที่บานเต็มที่แล้วอาจเก็บรักษาไว้ได้นานประมาณ 2 สัปดาห์ โดยแช่ไว้ในสารเคมีและให้อยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิประมาณ 3-4 องศาเซลเซียส



                                          


วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ดอกไม้ประจำชาติบราซิล ดอกทาเบเบีย (Tabebuia)

ดอกไม้ประจำชาติบราซิล ดอกทาเบเบีย (Tabebuia)

 

     สวัสดีค่ะวันนี้จะพาไปรู้จักกับดอกไม้ประจะชาติบราซิลหลายคนคงรู้จักดอกไม้ต่างๆเเต่ดอกไม้นี้มีชื่อว่าดอกดอกทาเบเบียเป็นดอกไม้ประจำชาติบราซิลไปดูกันเลยค่ะ
ดอกไม้ประจำชาติบราซิล คือ ดอกดอกทาเบเบีย (Tabebuia)

ชื่อภาษาอังกฤษ:Golden bell, Silver Trumpet Tree


ชื่อวิทยาศาสตร์: Tabebuia argentea Britt.


ชื่อวงศ์: BIGNOMIACEAE


ชื่ออื่น: เหลืองปรีดียาธร

    ดอกดอกทาเบเบีย(Tabebuia) มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศ ปารากวัย อาร์เจนตินา และบราซิล เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 8 เมตร มีทรงพุ่มเป็นรูปร่มหรือรูปไข่ขนาด 3-6 เมตร ลำต้นมีเปลือกสีน้ำตาล มักแตกเป็นร่องลึกขรุขระตามแนวยาวของลำต้น กิ่งก้านสาขามักแตกออกเป็นชั้นๆ ใบมีลักษณะเป็นรูปนิ้วมือ เป็นใบประกอบออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยรูปรีแกมรูปขอบขนาน 5-7 ใบ มีความกว้าง 2-4 ซม. ยาว 6-18 ซม. ความยาวของก้านใบรวมประมาณ 8-15 ซม. ก้านใบย่อยยาวประมาณ 1-5 ซม. ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบสอบหรือมน แผ่นใบหนา ขอบใบเรียบ เนื้อใบเหนียวค่อนข้างแข็ง ทั้งด้านบนและล่างของใบจะเป็นสีเงินเหลือบ ดอกมักออกกระจุกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มีสีเหลือง มีเส้นผ่านศูนย์กาลางดอกประมาณ 3-4 ซม. ช่อดอกยาวประมาณ 10-15 ซม. ดอกย่อยมีลักษณะเป็นรูปแตรประมาณ 7-15 ดอก บริเวณโคนกลีบเลี้ยงจะเชื่อมติดกันคล้ายระฆังและแยกออกที่ส่วนปลาย 5 แฉก หลอดโคนดอกที่เชื่อมติดกันจะยาวประมาณ 4.5-6.5 ซม. มีเกสรเพศผู้อยู่ 4 อัน มักออกดอกให้เห็นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม



ผล มีสีเขียวอมน้ำตาล เป็นฝักทรงกลมค่อนข้างแบน กว้างประมาณ 1.5-2 ซม. ยาวประมาณ 10-12 ซม. มีรอยตะเข็บ 4 รอยตามแนวยาวของฝัก เมื่อสุกจะกลายเป็นสีน้ำตาลทั้งหมด ฝักที่เป็นผลแห้งสามารถแตกออกได้ ภายในฝักมีเมล็ดอยู่เป็นจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะเป็นสีน้ำตาล มีปีก หรือมีเยื่อสีขาวบางๆ อยู่ ในช่วงเดือนเมษายน-กรกฏาคมมักจะมีผลออกมาให้เห็น
ดอกไม้ชนิดนี้สามารถปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป มักขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ดอกที่มีสีเหลืองสวยสดงดงาม และทรงพุ่มของต้นที่สวยงาม จึงเหมาะที่จะปลูกไว้เป็นไม้ประดับตามสวนสาธารณะ หรือริมถนนก็ได้

ดอกไม้ประจำชาติเกาหลี ดอกดอกมูกุงฮวาหรือโรส ออฟ ชารอน

ดอกไม้ประจำชาติเกาหลี

ดอกดอกมูกุงฮวาหรือโรส ออฟ ชารอน

    สวัสดีค่ะวันนี้จะพาไปรู้จักกับดอกไม้ประจำชาติเกาหลีหลายคนคงรู้จักดอกไม้ต่างๆเเต่ดอกไม้นี้มีชื่อว่ามูกุงฮวาเป็นดอกไม้ประจำชาติเกาหลีไปดูกันเลยค่ะ สวยมาก
    
    ประเทศเกาหลีใต้มีดอกไม้ประจำชาติคือดอก ดอกมูกุงฮวา หรืออีกชื่อหนึ่งคือ โรส ออฟ ชารอน
ดอกมูกุงฮวา (Mugunghwa)
ชื่อภาษาอังกฤษ: Rose of Sharon
ชาวเกาหลีนับตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้วถือว่า มูกุงฮวา เป็นดอกไม้สวรรค์ โดยที่มูกุงฮวามีความสำคัญต่อวัฒนธรรมเกาหลีมาหลายศตวรรษแล้ว และหลังจากที่เกาหลีได้รับอิสรภาพจากญี่ปุ่น รัฐบาลก็ได้เลือกให้เป็นดอกไม้ประจำชาติ ในเกาหลีมีดอกมูกุงฮวาเป็น 100 พันธุ์ 
 ซึ่งแบ่งตามสีของดอก มีอยู่ 3 กลุ่มคือ
1. ทันชิม จะมีสีแดงตรงกลางดอก(ดอกไม้ประจำชาติเกาหลี)
2. แบดัล มีดอกสีขาวล้วน
3. อาซาดาล ที่บริเวณขอบดอกจะมีจุดสีชมพู


มูกุงฮวาในต้นเดียวกันบางต้นให้ดอกได้ถึง 2-3 พันดอก แม้จะมีการตัดตกแต่งหรือย้ายที่ปลูกก็สามารถเติบโตขึ้นได้ จึงเป็นดอกไม้ที่แสดงถึงความหวัง ความเจริญรุ่งเรือง ความมั่งคั่งยั่งยืน ในช่วงเช้าจนถึงเย็นตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมไปจนถึงปลายเดือนตุลาคมดอกมูกุงฮวาก็จะเริ่มผลิบานออกมาให้เห็น และในช่วงที่แสงอาทิตย์ลับขอบฟ้า กลีบดอกก็จะเริ่มหุบลง
ชาวเกาหลียกให้ดอกมูกุงฮวาเป็นสัญลักษณ์ของความรุ่งโรจน์ของประเทศที่ได้ฝ่าฟันมาด้วยความยากลำบาก เป็นดอกไม้ประจำชาติที่พวกเขาชื่นชมและอนุรักษ์ไว้
ดอกไม้ชนิดนี้สามารถทนสภาพอากาศที่เลวร้ายและศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี คำว่า มูกุงฮวา มาจากรากศัพท์คำว่า มูกุง ที่แปลว่า ความเป็นอมตะ ซึ่งสะท้อนความเป็นอมตะ ความมุ่งมั่นและอดทนของชาวเกาหลีในประวัติศาสตร์
ในกรุงโซลของประเทศเกาหลี บริเวณแนวริมถนนสายต่างๆ มักจะปลูกดอกมูกุงฮวาไว้ ดอกที่มีขนาดใหญ่ สีสันสวยงาม ช่อเกสรยาว ดอกก็ดูคล้ายๆ กับดอกชบา ทำให้มองดูแล้วรู้สึกสดชื่นสบายตาสบายใจ


วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ดอกไม้ประจำชาติของภูฏาน ดอกป๊อปปี้สีฟ้า


ดอกไม้ประจำชาติของภูฏาน
ดอกป๊อปปี้สีฟ้า 



    สวัสดีค่ะวันนี้จะพาไปรู้จักกับดอกไม้ประจำชาติภูฏานอย่างที่ทราบกันดีนะค่ะว่าดอกไม้ประจำชาติของของประเทศภูฏาน ก็คือดอกป๊อปปี้สีฟ้าไปรู้จักกันเลยค่ะ

     
    ดอกไม้ประจำชาติของภูฏานคือ ดอกป๊อปปี้สีฟ้า พบได้ตามภูเขาในภูฏาน เป็นดอกไม้ป่าชนิดหนึ่ง ดอกไม้ที่ได้ชื่อว่าเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศภูฏานก็คือ ดอกป๊อปปี้สีฟ้า ซึ่งมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Blue Poppy เป็นดอกไม้ป่า ที่พบได้ตามซอกหินบนภูเขาที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 3,000 เมตรขึ้นไป ซึ่งเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์


ป๊อปปี้สีฟ้าจัดเป็นไม้พุ่มทรงสูง มีลำต้นสูงประมาณ 1 เมตรขึ้นไป ลักษณะของดอกมีสีฟ้า หรือสีม่วงอ่อน เกสรมีลักษณะเป็นเส้นใยสีขาว กลีบดอกบาง มักผลิดอกในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ต้นจะตายลงไปหลังจากที่ออกดอกและให้เมล็ดแล้ว ซึ่งในเมล็ดจะมีน้ำมันอยู่เป็นจำนวนมาก

การเพาะเมล็ดดอกป็อปปี้
วัสดุที่ใช้สำหรับเพาะควรเป็นทรายแม่น้ำหรือพีทมอส
โรยเมล็ดให้กระจายทั่วภาชนะที่เตรียมไว้ และให้น้ำแบบสเปรย์
คลุมภาชนะที่ใช้ปลูกด้วยพลาสติกใส นำไปวางในตู้ที่มีความเย็น ให้มีความชื้นประมาณ 70-80% เป็นเวลา 2 สัปดาห์
เมื่อครบกำหนดให้เอาออกมาวางในที่ที่มีอุณหภูมิประมาณ 10-15 องศาเซลเซียส อากาศแห้ง เย็น และมีแสงสว่าง ให้น้ำแบบสเปรย์เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ไม่ควรปล่อยให้แห้งหรือแฉะ
เมื่อครบกำหนดให้แช่เมล็ดในตู้เย็นที่มีความชื้นประมาณ 70-80% อีกครั้ง ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์
การแช่เย็นและอุ่นเมล็ดนี้ให้ทำซ้ำไปจนครบ 6 สัปดาห์ เมื่อย้ายไปปลูกในสถานที่ที่มีอุณหภูมิประมาณ 10-15 องศาเซลเซียส ประมาณ 7-20 วันเมล็ดก็จะเริ่มงอก





ที่มา:https://www.vichakaset.com/%E0%B8%9B%E0%B9%8A%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2/













ดอกไม้ประจำชาติของอาร์เจนตินาคือ ดอก Erythrina crista-galli

ดอกไม้ประจำชาติอาร์เจนตินา

ดอก Erythrina crista-galli



  สวัสดีค่ะเราจะพามารู้จักกับดอกไม้ประจำชาติของอาร์เจนตินาคือ ดอก Erythrina crista-galliไปดูกันเลยค่ะ.
ดอก Erythrina crista-galli
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Erythrina crista-galli L.


ชื่อสามัญ : Cockspur Coral Tree, Common Coral Tree, Cry-baby Tree


ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE (PAPILIONOIDEAE)


ชื่ออื่น : ทองหลางดอกแดง สราญรมย์ มโนรมย์




       ดอกไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศบราซิล อุรุกวัย และอาร์เจนตินา เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็ก ลำต้นมีสีน้ำตาล ทรงพุ่มกลม มีความสูงประมาณ 5-8 เมตร จะมีหนามอยู่ตามลำต้นและกิ่งก้าน ลักษณะของใบเป็นใบประกอบแบบขนนก รูปรีแกมขอบขนาน สีเขียวเข้มเป็นมัน โคนใบมน ปลายใบแหลม มีใบย่อย 3 ใบ แผ่นใบมีลักษณะเป็นคลื่น ดอกมีลักษณะคล้ายรูปดอกถั่วหรือดอกทองหลางฮ่องกง กลีบดอกสีแดง มักออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกจะบานให้เห็นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และกันยายน แต่ก็สามารถออกได้ตลอดทั้งปี โดยดอกจะทยอยบานจากโคนไปหาปลายช่อ เป็นดอกไม้ที่ไม่มีกลิ่นหอม ชนิดที่มีดอกสีแดงมักจะเรียกกันว่า มโนรมย์ ส่วนที่มีดอกสีส้ม หรือชมพู จะเรียกว่า สราญรมย์ ผลจะมีลักษณะเป็นฝักสีเขียว ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาล


วิธีการขยายพันธุ์ ทำได้ด้วยการเพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง
      ไม้ดอกชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิดที่มีสารอาหารอุดมสมบูรณ์ ชอบอากาศเย็น และต้องได้รับแสงตลอดทั้งวัน มีความต้องการน้ำค่อนข้างน้อย จึงไม่ควรให้มีน้ำท่วมขัง ควรมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อความสวยงาม ดอกไม้ชนิดนี้มีความสวยงาม เลี้ยงดูง่าย เจริญเติบโตเร็ว จึงนิยมปลูกไว้เป็นไม้ประดับตามอาคารบ้านเรือน หรือตามสถานที่ต่างๆ หรือจะปลูกเป็นไม้กระถางก็สามารถทำได้เช่นกัน  

วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ดอกไม้ประจำชาติของเม็กซิโก ดอกดาเลีย(Dahlia)

ดอกไม้ประจำชาติของเม็กซิโก
 ดอกดาเลีย(Dahlia)
   วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับ ดอกไม้ประจำชาติของเม็กซิโกคือ ดอกดาเลีย(Dahlia)ปดูกันเลยค่ะ






 ดอกดาเลีย(Dahlia)


ชื่อสามัญ: Dahlia or Dalia

ชื่อวิทยาศาสตร์:Dahlia sp.

ชื่อวงศ์:Compositae หรือ Asteraceae จัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับเบญจมาศ และเยอบีร่า

      ดาเลีย มีถิ่นกำเนิดบนที่สูงของเม็กซิโก และอเมริกากลาง ส่วนในอเมริกาใต้อาจพบได้บ้าง สำหรับพันธุ์ที่ปลูกกันอยู่ทั่วไปมักเป็นพันธุ์ผสมที่ได้มาจาก Dahlia pinnate และ Dahlia cocinea ซึ่งในเมืองไทยก็มีการปลูกดาเลียกันมาช้านานแล้ว มักนิยมปลูกเป็นไม้ประดับสวน ไม้กระถาง หรือไม้ตัดดอก
ดาเลียเป็นไม้พุ่ม ส่วนบางชนิดก็เป็นแบบไม้เลื้อย ลำต้นเป็นแบบตั้งตรงแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ภายในลำต้นจะกลวง รากมีลักษณะคล้ายหัว ลักษณะของดอกจะคล้ายกับดอกเบญจมาศ มีอยู่ด้วยกันหลายสี เช่น ชมพู น้ำเงิน ขาว แดง แสด ส้ม ม่วง และเหลือง เป็นต้น มีก้านช่อดอกแข็งแรง เกสรตัวผู้และตัวเมียจะอยู่ในดอกเดียวกัน ลักษณะของกลีบดอกในบางชนิดอาจแผ่กว้าง หรือบางชนิดอาจห่อตัวเป็นหลอดก็ได้ กลีบรองดอกด้านในจะติดอยู่กับฐานดอกมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ เรียงกันอยู่อย่างเป็นระเบียบ ส่วนขนาดกลีบรองดอกด้านนอกจะเล็กกว่าด้านใน เมล็ดของดาเลียจะเป็นรูปไข่เล็กๆ


ดาเลียในแถบยุโรปมักจะให้ดอกในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ส่วนพันธุ์ที่นำมาปลูกในประเทศไทยพบว่าจะให้ดอกเมื่อมีใบ 5-7 คู่ ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ในประเทศอังกฤษได้แบ่งลักษณะดอกของดาเลียออกเป็นกลุ่มดังนี้

1. Single – flowerd
2. Anemone – flowerd
3. Collerette 
4. Peony – flowerd 
5. Decorative 
6. Ball 
7. Pompon 
8. Cactus 
9. Semi – Cactus 
10. Miscellaneous




และได้แบ่งตามขนาดของดอกได้เป็นกลุ่มดังนี้

1. Giant – flowerd มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดอกมากกว่า 25 เซนติเมตร
2. Large – flowerd มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดอกตั้งแต่ 20-25 เซนติเมตร
3. Medium – flowerd มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดอกตั้งแต่ 15-20 เซนติเมตร
4. Small – flowerd มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดอกตั้งแต่ 10-15 เซนติเมตร
5. Miniature – flowerd มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดอกน้อยกว่า 10 เซนติเมตร
การขยายพันธุ์ดาเลีย ทำได้ด้วยวิธีปลูกด้วยหัว ชำกิ่ง และการใช้เมล็ด วิธีที่นิยมที่สุดคือการใช้หัวปลูก เพราะสะดวกที่สุด ส่วนการใช้เมล็ดมักจะให้ต้นที่ไม่สม่ำเสมอจึงมักไม่เป็นที่นิยม
ดาเลีย เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย หรือในพื้นที่ที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,000 เมตร ต้องได้รับแสงแดดเต็มที่ มีอุณหภูมิประมาณ 20-25 องศาเซลเซียส มีการถ่ายเทอากาศที่ดีเพื่อป้องกันการเข้าทำลายของโรค เป็นพืชที่ปลูกได้ตลอดทั้งปี ดาเลียสามารถนำมาใช้งานได้หลากหลาย ตลาดจึงมีความต้องการไม้ตัดดอกชนิดนี้มากขึ้น
ควรให้ปุ๋ยที่มีความเข้มข้นของธาตุอาหารแก่ดาเลียหลังจากปลูกได้ประมาณ 3 สัปดาห์ดังนี้ ไนโตรเจน 100 ส่วนต่อล้าน ฟอสฟอรัส 50 ส่วนต่อล้าน โพแทสเซียม 100 ส่วนต่อล้าน


ดาเลียมักเกิดโรคเน่าของหัวและดอกที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา ส่วนแมลงที่เป็นศัตรูของดาเลีย ได้แก่

-ไรขาวและไรแดง ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีพวก โอไมค์ หรือผงกำมะถันเพื่อกำจัด
-หนอนชอนใบ ควรใช้สารเคมีพวก อะบาเมกติน ฉีดพ่น หรือใช้กาวเหนียวเพื่อดักจับตัวเต็มวัยของหนอนชอนใบ
-เพลี้ยไฟ โดยพ่นสารเคมีพวก คอนฟิดอร์ เพื่อกำจัดเมื่อเกิดการระบาด
-หนอนกัดกินใบและต้นพืช ถ้าพบในปริมาณน้อยก็ให้จับทำลาย แต่ถ้ามีมากก็ควรใช้สารเคมีที่เหมาะสมฉีดพ่นเพื่อกำจัด
วิธีการให้น้ำดาเลีย ที่นิยมกันมากที่สุดคือ การใช้สายยางที่ส่วนปลายเป็นฝักบัวฝอย ส่วนการให้น้ำแบบหยดที่มีต้นทุนสูงก็เป็นที่นิยมเช่นกัน น้ำที่ใช้รดต้องเป็นน้ำสะอาด มีความเหมาะสมของกรดและด่าง ควรให้น้ำในตอนเช้าจนดินมีความชื้นแต่ไม่ถึงกับแฉะ เมื่อตกเย็นใบก็จะแห้งพอดี เป็นการป้องกันการระบาดของโรคได้ด้วย
เมื่อดาเลียบานเกือบเต็มที่จนเห็นสีชัดเจนก็ให้เริ่มทำการเก็บเกี่ยวได้ ควรใช้กรรไกรหรือมีดคมๆ ตัดช่อดอกให้ยาวประมาณ 60 ซม. และให้ตัดดอกในตอนเช้า หลังจากการเก็บเกี่ยวแล้วควรแช่ก้านดอกในน้ำทันที การยืดอายุการบานของดอกดาเลียทำได้โดยการเก็บรักษาไว้ในห้องเย็น หรือใช้สารเคมีควบคุม หรืออาจใช้ทั้งสองแบบร่วมกันก็ได้



ดอกไม้ประจำชาติของประเทศตุรกี ดอกทิวลิป

ดอกไม้ประจำชาติประเทศตุรกีดอกทิวลิป 





      วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับดอกไม้ประจำชาติของประเทศตุรกี คือ ดอกทิวลิป เช่นเดียวกับประเทศเนเธอร์แลนด์ไปดูกันเลยค้ะ.

ทิวลิป (Tulip)


ชื่อสามัญ : tulip


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tulipa spp. L.

ชื่อวงศ์ : Liliaceae

       ทิวลิปเป็นดอกไม้ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากตะวันออกกลางประเทศตุรกี เป็นดอกไม้เมืองหนาวในฤดูใบไม้ผลิที่ได้รับความนิยมรองลงมาจากกุหลาบและเบญจมาศ ดอกทิวลิปได้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ตุรกีเมื่อพันกว่าปีมาแล้ว ซึ่งในอดีตดอกทิวลิปเป็นดอกไม้ป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ต่อมาเจ้าหน้าที่ของตุรกีได้นำมาให้กับทูตเวียนนาเอาไปปลูกในประเทศออสเตรีย แต่ชาวฮอลแลนด์ที่เป็นคนสวนกลับนำมาเพาะและผสมเป็นพันธุ์ใหม่จนมีหลากหลายสีสันและพันธุ์ แต่ต่อมาก็ถูกสั่งห้ามเพราะผิดกับหลักศาสนา จึงทำให้ทิวลิปมีราคาแพง แต่ปัจจุบันทิวลิปได้กลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของเนเธอร์แลนด์ไปแล้ว

จากการผสมพันธุ์ทำให้ปัจจุบันนี้มีทิวลิปอยู่มากกว่า 100 ชนิด แต่โดยทั่วไปแล้วทิวลิปจะมีลำต้นที่สูงประมาณ 12-18 นิ้ว มีใบยาวเรียวเล็ก ปลายใบแหลมประมาณ 3-4 ใบ ออกเป็นตรงข้ามกัน มีเส้นแขนงเป็นแนวขนานตามความยาวของใบ ดอกทิวลิปมีลักษณะเป็นรูปถ้วย มีกลีบดอก 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ มีหลากหลายสีสันขึ้นอยู่กับแต่ละชนิด เช่น สีแสด แดง ส้ม เหลืองเข้ม เหลือง เหลืองอ่อน ชมพู ขาว และสีสลับลายหลายอย่าง มีทั้งสีเดียวล้วนๆ และสีผสมในดอกเดียว ลักษณะการบานของดอกจะเป็นเพียงแย้มบานออกมา จะไม่บานแฉ่งจนเต็มที่ ดอกจะมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ลักษณะของเกสรตัวผู้จะเป็นรูปหัวศรสีเหลืองอ่อน หรือสีขาว มีอยู่ด้วยกัน 6 เส้น ส่วนเกสรตัวเมียมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่กึ่งกลางเกสรตัวผู้และมีขนาดโตกว่า มีความยาวประมาณ 2-2.5 ซม. ส่วนปลายจะงอลงเป็น 3 แฉก ส่วนเกสรตัวผู้บางสายพันธุ์ตรงส่วนปลายจะมีลักษณะเป็นติ่งสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ
ดอกทิวลิป สามารถปลูกได้เฉพาะพื้นที่ ที่มีสภาพอากาศหนาวเย็นเท่านั้น แต่พบว่าทิวลิปที่สามารถนำมาปลูกในบ้านเราได้มีอยู่ประมาณ 20 สายพันธุ์ อุณหภูมิที่สามารถปลูกทิวลิปได้ดีอยู่ที่ประมาณ 18-20 องศาเซลเซียส กว่าจะผลิดอกให้เห็นต้องใช้เวลาประมาณ 39 วัน เมื่อดอกบานแล้วจะอยู่ได้ทนประมาณ 7-15 วันเท่านั้น แต่ถ้าหากมีการควบคุมแสงและอุณหภูมิได้อย่างเหมาะสมก็จะทนอยู่ในแปลงได้ประมาณ 10 วัน หรือ 2 สัปดาห์ เลยทีเดียว

ความหมายของดอกทิวลิป


      ดอกทิวลิป เป็นสัญลักษณ์ของ จินตนาการ ความใฝ่ฝัน คู่รักที่สมบูรณ์แบบ และความรักที่เปิดเผย

ทิวลิปสีแดง หมายถึง รักที่ไม่ปิดบัง ซ่อนเร้น เปิดเผยอย่างจริงใจ



ทิวลิปสีชมพู หมายถึง ความสุขอันสมบูรณ์แบบ และความมั่นใจ เปิดเผย ไม่ปิดบัง


ทิวลิปสีเหลือง หมายถึง ความเบิกบาน ความสว่างไสว

ทิวลิปสีส้ม หมายถึง ความอบอุ่น ความสุข ความงดงาม และความมีเสน่ห์





ดอกไม้ประจำชาติของมัลดีฟส์ ดอกกุหลาบสีชมพู

ดอกไม้ประจำชาติของมัลดีฟส์ 
 ดอกกุหลาบสีชมพู
 สวัสดีค่ะวันนี้จะพาไปรู้จักกับดอกไม้ประจำชาติมัลดีฟส์ อย่างที่ทราบกันดีนะค่ะว่าดอกไม้ประจำชาติของมัลดีฟส์ นั้นคือก็ดอกกุหลาบสีชมพูไปรู้จักกันเลยค่ะ.



กุหลาบ 


ชื่อวิทยาศาสตร์ :Rosa hybrids


ชื่อสามัญ: Rose


ชื่อวงศ์: ROSACEAE
   เพราะความสวยงามของดอกกุหลาบ ทำให้ผู้คนต่างนิยมปลูกกันไว้เพื่อตกแต่งอาคารบ้านเรือน ตกแต่งสวน ใช้ประดับตามสถานที่ต่างๆ หรือปลูกเป็นการค้า โดยตัดดอกไปขาย หรือนำไปสกัดเป็นน้ำหอม เป็นต้น
   กุหลาบตัดดอกที่นิยมปลูกกัน ดอกจะมีขนาดโต ที่เรียกกันว่า ไฮบริดที(Hybird Tea) มักออกเป็นดอกเดี่ยวๆ กลีบดอกซ้อน ทรงพุ่มตั้งตรง มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร สำหรับพันธุ์สีชมพูที่นิยมปลูกกันทั่วไป ก็อย่างเช่น พันธุ์มิสออลอเมริกาบิวตี้ หรือมาเรีย, คาสลาส, ไอเฟลทาวเวอร์, สวาทมอร์, เฟรนด์ชิพ, เพอร์ฟูมดีไลท์, จูวังแซล, เฟิร์สท์ไพรซ์, อเควเรียส, ซูซานแฮมเชียร์



การขยายพันธุ์
  ทำได้โดยการปักชำ ตอนกิ่ง ติดตา หรือเพาะเมล็ด ช่วงต้นฤดูฝน-ฤดูหนาว จะเหมาะกับการปลูกกุหลาบมากที่สุด หากปลูกในฤดูร้อนอาจได้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร
สถานที่ใช้ปลูกกุหลาบควรเป็นที่โล่งแจ้ง มีแสงสว่างส่องถึงอย่างน้อยวันละ 8-10 ชั่วโมง สำหรับดินที่ใช้ปลูกกุหลาบควรเป็นดินที่มีธาตุอาหารอยู่อย่างสมบูรณ์ มีความร่วนซุย สามารถเก็บความชื้นและระบายน้ำได้ดี มีค่า pH ระหว่าง 5.5-6.8 ก่อนปลูกควรขุดหลุมปลูกให้ลึกประมาณ 1 ฟุต แล้วตากทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ขุยมะพร้าว เปลือกถั่ว ฟางผุ เว้นระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 60 ซม. จากนั้นนำต้นลงปลูก กลบดิน คลุมแปลงเพื่อรักษาความชื้นด้วยฟางข้าว เศษหญ้าแห้ง หรือเปลือกถั่ว และรดน้ำให้ชุ่ม
การให้น้ำแก่กุหลาบขึ้นอยู่กับสภาพดินและฤดูกาลที่ปลูก หรือควรให้ในระดับที่ลึกลงไปในดินประมาณ 16-18 นิ้ว เพื่อให้ถึงระดับรากใต้สุด ไม่ควรให้จนชื้นแฉะจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดโรคระบาดได้ง่าย
เพื่อเป็นการเร่งให้กุหลาบเจริญเติบโต ควรให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงหลังจากที่ปลูกไปได้ประมาณ 15 วันแล้ว และให้ครั้งต่อไปทุกๆ 15-20 วัน เมื่อเริ่มให้ดอกจึงค่อยใส่ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสเพื่อเร่งดอก ควรรดน้ำตามทันทีทุกครั้งหลังจากการใส่ปุ๋ย
การตัดแต่งกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง ในระยะแรกควรตัด 2 ครั้ง/เดือน และตัดเดือนละครั้งเมื่อเข้าปีที่สองแล้ว การตัดแต่งกิ่งจะทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษา ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง ไม่ควรตัดให้ชิดตาจนเกินไป หลังจากตัดแล้วให้ใช้สีน้ำมันหรือปูนแดงทาป้องกันการเข้าทำลายขอเชื้อรา และหนอนเจาะลำต้นด้วย ควรใช้มีดหรือกรรไกรสำหรับตัดที่คมและสะอาด โดยตัดทำมุมเฉียง 45 องศา เพื่อป้องกันน้ำขังซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเน่าได้
 




วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ดอกไม้ประจำชาติของประเทศออสเตรเลีย ดอกโกลเด้น วัทเทิ้ล(Golden Wattle)

ดอกไม้ประจำชาติของประเทศออสเตรเลีย 
 ดอกโกลเด้น วัทเทิ้ล




    อย่างที่ทราบกันดีนะค่ะว่าดอกไม้ประจำชาติของของประเทศออสเตรเลียก็คือดอกโกลเด้น วัทเทิ้ลมารู้จักกันเลยค่ะ


โกลเด้น วัทเทิ้ล (Golden Wattle) 

    ในออสเตรเลียดอกไม้ชนิดนี้จะเป็นที่ชื่นชอบและมีชื่อเสียงมาก ซึ่งในตราสัญลักษณ์ของประเทศตั้งแต่ปี 1912 จะมีรูปดอกไม้ชนิดนี้อยู่ด้วย ต่อมาดอกไม้ชนิดนี้ก็ได้ถูกประกาศให้เป็นดอกไม้ประจำชาติในปี 1988 และรูปดอกไม้ชนิดนี้ยังพบเห็นได้ในแสตมป์และเหรียญเงินของออสเตรเลียด้วย

นักวิทยาศาสตร์บางคนให้ข้อสังเกตว่า ในเมล็ดของโกลเด้น วัทเทิ้ลมีคุณค่าทางอาหารเช่นเดียวกับธัญพืชชนิดอื่นๆ ซึ่งมีโปรตีนอยู่สูง สามารถนำมาทำเป็นอาหารได้ รสชาติของเมล็ดจะคล้ายกับถั่วเมื่อนำไปคั่ว เมื่อนำไปต้มรสชาติก็จะคล้ายกับถั่วลันเตา นำไปโม่ทำเป็นแป้งขนมปัง หรือเส้นพาสตา

ดอกโกลเด้น วัทเทิ้ล 1 ดอก ในบางพันธุ์จะมีเมล็ดได้ถึง 10 กิโลกรัม ส่วนพันธุ์ที่มีกลิ่นหอม ก็มักนิยมทำเป็นหัวน้ำหอม

มีต้นโกลเด้น วัทเทิ้ล อยู่พันธุ์หนึ่งที่เรียกว่า อาเคเซีย(Acacia acuminata) มักถูกนำมาเป็นอาหารสัตว์ และปลูกไว้เพื่อป้องกันการกัดเซาะของหน้าดิน ชาวอะบอริจินของออสเตรเลียในยุคแรกๆ มักนำไม้อาเคเซียมาทำเป็นบูมเมอแรง ต้นอาเคเซียเมื่อตัดมาใหม่ๆ มักจะมีกลิ่นหอมเหมือนลูกราสเบอรี่บด จึงมักถูกเรียกว่า ต้นแยมราสเบอรี่