ดอกไม้ประจำชาติซิมบับเว
ดองดึง(flame lily)
สวัสดีค่ะเราจะมาเเนะนำให้ทุกคนรู้จักกับดอกดองดึงหลายคนคงยังไม่รู้จักงั้นเรามารู้จักไปพร้อมๆกันเลยค่ะ
ชื่อสามัญ: Climbing Lily, Turk’s cap, Superb Lily, Flame lily, Gloriosa lily
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Gloriosa superba L.
ชื่อวงศ์ :Colchicaceae
ชื่ออื่นๆ: ก้ามปู, คมขวาน, บ้องขวาน, หัวขวาน, ดาวดึงส์, ว่านก้ามปู เป็นต้น
ดองดึงมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนชื้น ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา และหมู่เกาะมาดากัสการ์ มักขึ้นเป็นวัชพืชอยู่ตามชายป่า ที่โล่ง ที่เป็นดินปนทราย แม้แต่ในพื้นที่ที่มีระดับความสูงกว่าน้ำทะเลถึง 2,500 เมตร ก็สามารถขึ้นได้ดี ในประเทศเขตอบอุ่นมักปลูกไว้เป็นไม้ประดับในเรือนกระจก
ดองดึงเป็นไม้เถาล้มลุก มีหัวหรือเหง้าโค้งเป็นทรงกระบอกอยู่ใต้ดิน เป็นพืชที่มีอายุอยู่ได้นานหลายปี เถาของดองดึงมักจะเลื้อยเกาะไปตามต้นไม้อื่น ซึ่งอาจยาวได้ถึง 5 เมตร
ใบ มีลักษณะคล้ายหอก สีเขียวเข้ม ยาวประมาณ 5-15 ซม. ออกเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับรอบข้อประมาณ 1-3 ใบ ปลายใบแหลม ไม่มีก้านใบ
ดอก มักออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ความยาวของดอกมีประมาณ 6-10 ซม. มีเกสรตัวผู้ 6 อัน ก้านเกสรตัวผู้ยาวประมาณ 3-5 ซม. เกสรตัวเมียแยกเป็น 3 แฉก ยาวประมาณ 0.3-0.7 ซม. มีอับเรณูยาวประมาณ 1 ซม. ส่วนก้านดอกมีความยาวประมาณ 5 ซม. กลีบดอกมักจะบิดเป็นเส้นยาวหยิก ดองดึงอาจมีดอกสีแดงล้วน มีสีแดงเฉพาะด้านบนดอกหรือตามขอบกลีบ และด้านล่างดอกเป็นสีเหลือง หรือสีเหลืองอมเขียว เมื่อดอกบานเต็มที่สีของดอกจะเข้มขึ้นดูสวยสะดุดตา
ผล มีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน มีความยาวประมาณ 5-10 ซม. เมื่อผลแก่ก็จะแตกออก และมีเมล็ดลักษณะกลมสีแดงส้มอยู่เป็นจำนวนมาก
การขยายพันธุ์ วิธีที่นิยมกันทั่วไปคือ การใช้หัว หรือการเพาะด้วยเมล็ด
ดองดึงจะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย สามารถระบายน้ำได้ดี ควรรดน้ำให้มีความชื้นพอปานกลาง ไม่ควรให้ดินแฉะหรือมีน้ำขังเพราะอาจทำให้รากเน่าเสียหายได้ ชอบที่มีแสงแดดจัดหรือร่มรำไร ในช่วงฤดูฝนมักจะให้ดอกดก แต่ก็สามารถมีดอกให้เห็นได้ตลอดทั้งปี
สรรพคุณทางยา
-เหง้า ใช้แก้โรคเรื้อน คุดทะราด บาดแผล และขับผายลม แก้ลมพรรดึก แก้เสมหะ แก้ลมจับโปง รูมาติซั่ม แก้ปวดบวมหัวเข่า
-หัว ใช้ต้มรับประทานแก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด ฝนทาแก้พิษงู พิษตะขาบ แมลงป่อง ทาแก้โรคผิวหนัง แก้โรคหนองใน
ดองดึง มีสาร colchicines ที่เป็นพิษต่อร่างกายอยู่ในเหง้า จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น