ดอกไม้ประจำชาติโคลัมเบีย
ดอกกล้วยไม้คัทลียา Cattleya Trianae
ประเทศโคลัมเบียมีดอกไม้ประจำชาติคือ ดอกกล้วยไม้คัทลียา Cattleya Trianae ซึ่งได้ปรากฏอยู่บนธงชาติของประเทศด้วย ดอกคัทลียาสัญลักษณ์ของประเทศนี้จะมีกลีบดอกสีม่วงหยักพริ้ว มีเกสรสีเหลือง
กล้วยไม้สกุลนี้มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศที่ค้นพบใหม่
แคทลียา
ชื่อวิทยาศาสตร์Cattleya John Lindley
ชื่อสามัญ Cattleya
ชื่อวิทยาศาสตร์Cattleya John Lindley
ชื่อสามัญ Cattleya
คัทลียาเป็นพืชดอกในวงศ์กล้วยไม้ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 113 สปีชีส์ มีถิ่นกำเนิดมาจากคอสตาริกา และแพร่กระจายไปสู่อเมริกาเขตร้อน ในปี พ.ศ. 2367 John Lindley ได้ตั้งชื่อดอกไม้ชนิดนี้ตามชื่อของ Sir William Cattley ซึ่งเป็นคนแรกที่ปลูก Cattleya labiata จนมีดอกให้เห็น
ผู้ที่นำกล้วยไม้สกุลคัทลียามาปลูกในประเทศไทยเป็นครั้งแรกคือ นรี อาลาบาศเตอร์ โดยปลูกในพระราชอุทยานสราญรมย์ในสมัยรัชกาลที่ 5
สามารถแบ่งกล้วยไม้ในสกุลนี้ได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ด้วยกัน คือ
1. Unifoliate group
กลุ่มนี้จะมีใบเพียง 1 ใบเท่านั้นใน 1 ลำลูกกล้วย มีดอกขนาดใหญ่ กลีบดอกสีม่วง หรือสีชมพูอ่อน
1. Unifoliate group
กลุ่มนี้จะมีใบเพียง 1 ใบเท่านั้นใน 1 ลำลูกกล้วย มีดอกขนาดใหญ่ กลีบดอกสีม่วง หรือสีชมพูอ่อน
2. Bifoliate group
กลุ่มนี้จะมีมากกว่า 1 ใบใน 1 ลำลูกกล้วย ขนาดดอกค่อนข้างเล็ก ในแต่ละช่อมีดอกประมาณ 5-20 ดอก กลีบดอกเป็นมัน รูปทรงคล้ายหอก มีทั้งสีเหลือง เขียว น้ำตาลเขียว น้ำตาล ส้ม แดงส้ม ขาว ชมพูม่วง กลีบดอกของบางชนิดจะมีจุดสีน้ำตาลหรือม่วงแดงแต้มอยู่ บางชนิดมีกลีบดอกสีเขียวอมน้ำตาลแต่มีปากสีชมพูสด เช่น Cattleya bicolor ระหว่าง 2 กลุ่มนี้จึงมักนิยมนำมาผสมข้ามพันธุ์กันในปัจจุบัน
กลุ่มนี้จะมีมากกว่า 1 ใบใน 1 ลำลูกกล้วย ขนาดดอกค่อนข้างเล็ก ในแต่ละช่อมีดอกประมาณ 5-20 ดอก กลีบดอกเป็นมัน รูปทรงคล้ายหอก มีทั้งสีเหลือง เขียว น้ำตาลเขียว น้ำตาล ส้ม แดงส้ม ขาว ชมพูม่วง กลีบดอกของบางชนิดจะมีจุดสีน้ำตาลหรือม่วงแดงแต้มอยู่ บางชนิดมีกลีบดอกสีเขียวอมน้ำตาลแต่มีปากสีชมพูสด เช่น Cattleya bicolor ระหว่าง 2 กลุ่มนี้จึงมักนิยมนำมาผสมข้ามพันธุ์กันในปัจจุบัน
ลักษณะทั่วไปของคัทลียา
ลำต้น มักเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ หรือโขดหิน ลำต้นมีขนาดประมาณ 5-120 ซม. ลำลูกกล้วยจะมีรูปทรงคล้ายท่อนอ้อยหรือกระบอง
ลำต้น มักเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ หรือโขดหิน ลำต้นมีขนาดประมาณ 5-120 ซม. ลำลูกกล้วยจะมีรูปทรงคล้ายท่อนอ้อยหรือกระบอง
ใน 1 ลำลูกกล้วยจะมีใบตั้งแต่ 1-3 ใบ ลักษณะของใบจะแบนหรือเป็นร่อง ผิวใบคล้ายหนัง ปลายใบโค้งมนหรือแหลม เมื่อเจริญไปได้ระยะหนึ่งที่ลำลูกกล้วยจะมีเยื่อบางๆ หุ้มอยู่
ราก มีลักษณะเป็นสีขาวแบบรากกึ่งอากาศ รูปทรงกระบอก ส่วนของปลายรากอาจมีสีเขียว หรือสีเขียวน้ำตาลหุ้มอยู่ ซึ่งรากเหล่านี้จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก
ในแต่ละช่อจะมีจำนวนดอกตั้งแต่ 1-15 ดอก มีกลีบดอกชั้นนอก 3 กลีบ ส่วนกลีบดอกชั้นในมีขนาดใหญ่มีอยู่ 2 กลีบ ปากมี 3 ส่วนคือ ปากด้านข้างทั้งสองข้าง (side lobes) และ ปากส่วนกลาง (mid lobe) ส่วนของปากกลุ่มที่เป็น unifoliate จะเชื่อมต่อกัน ในขณะที่ส่วนของปากกลุ่มที่เป็น bifoliate จะมีการคอดเว้า โดยที่ปากด้านข้างทั้งสองและปากส่วนกลางจะแยกกันอย่างชัดเจน ลักษณะของเกสรจะเป็นแท่งยื่นออกมา จำนวน pollinia ในคัทลียาทุกสกุลมีอยู่ 4 อัน โดยที่ในถุงอับเกสรตัวผู้แต่ละอันจะมีอยู่ 2 pollinia ดอกมักมีกลิ่นหอม
การปลูกคัทลียา วัสดุที่ใช้ปลูกควรเป็นวัสดุที่โปร่ง สามารถระบายน้ำได้ดี เช่น อิฐมอญทุบ ถ่าน หรือเปลือกไม้ ไม่แนะนำให้ใช้กาบมะพร้าว แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ก็ควรจับให้อยู่ในแนวตั้ง ภาชนะที่ใช้ปลูกควรเป็นกระถางดินเผาที่มีการเจาะรูด้านข้างด้วย คัทลียาไม่ชอบอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ควรให้ความชื้นที่เหมาะสม และพรางแสงให้ประมาณ 60-70% หากเป็นตอนกลางคืนควรให้อุณหภูมิอยู่ที่ 13 องศาเซลเซียส ส่วนตอนกลางวันอุณหภูมิควรอยู่ที่ 25-28 องศาเซลเซียส ควรเปลี่ยนกระถางและวัสดุปลูกเสียใหม่หลังจากปลูกไปได้ 2-3 ปีแล้ว
ควรใช้หัวสปริงเกิลเพื่อให้น้ำ วันละ 1 ครั้ง ในช่วงเช้าจนชุ่ม แต่อาจให้ซ้ำได้อีกครั้งในช่วงหน้าแล้ง การให้น้ำหลังจากพระอาทิตย์ตกดินแล้วอาจทำให้เกิดโรคเน่าได้ และในช่วงที่ดอกบานไม่ควรให้น้ำโดนดอก
ในระยะแรกที่ปลูกควรให้ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 หรือ 30-20-10 และให้ใช้ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสอยู่สูงเมื่อต้นเริ่มแข็งแรงดีเพื่อกระตุ้นให้เกิดดอก ในช่วงที่ให้ดอกแล้วควรสลับมาให้ปุ๋ยสูตรเสมอสลับกันบ้าง
แคทลียามักมีแมลงรบกวน เช่นพวก เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ และไรแดง หากมีการระบาดมากก็ควรใช้ยาฉีดพ่นเพื่อกำจัดบ้าง หากมีหอยกัดกินยอดอ่อน ก็ควรขับไล่ด้วยการโรยยาพวกเมทัลดีไฮด์
คัทลียามักเกิดโรคที่พบได้บ่อยคือ
1. โรคเน่าดำ (black rot)
เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora มักระบาดในช่วงฤดูฝน จะทำให้ยอดเน่าเป็นสีน้ำตาล หากเกิดกับรากก็จะทำให้เน่าแห้ง ควรใช้ยาพวก อีทริไดอะโซล โฟซีทิล-อลูมิเนียม หรือ แมนโคแซป เพื่อกำจัด
เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora มักระบาดในช่วงฤดูฝน จะทำให้ยอดเน่าเป็นสีน้ำตาล หากเกิดกับรากก็จะทำให้เน่าแห้ง ควรใช้ยาพวก อีทริไดอะโซล โฟซีทิล-อลูมิเนียม หรือ แมนโคแซป เพื่อกำจัด
2. โรคเน่า (rot)
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas cattleyae หากปลูกต้นชิดกันเกินไปมักจะเกิดโรคและระบาดได้ง่าย ลักษณะของโรคจะคล้ายกับถูกน้ำร้อนลวก มักเกิดบริเวณใบหรือหน่ออ่อน หากพบใบที่เป็นโรคควรเด็ดออก แล้วเผาทำลายเสีย ควรใช้ยาพวก ไฟโตมัยซิน เพื่อกำจัด
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas cattleyae หากปลูกต้นชิดกันเกินไปมักจะเกิดโรคและระบาดได้ง่าย ลักษณะของโรคจะคล้ายกับถูกน้ำร้อนลวก มักเกิดบริเวณใบหรือหน่ออ่อน หากพบใบที่เป็นโรคควรเด็ดออก แล้วเผาทำลายเสีย ควรใช้ยาพวก ไฟโตมัยซิน เพื่อกำจัด
ภายในโรงเรือนที่ปลูกควรมีการดูแลเรื่องการถ่ายเทของอากาศ เพราะวัชพืชและตะไคร่น้ำมักเกิดขึ้นเมื่อมีความชื้นมากเกินไป ซึ่งจะไปขัดขวางการเจริญเติบโตของคัทลียาและอาจทำให้เกิดโรคได้ง่าย หากเกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นควรใช้ ไดยูรอน ฉีดพ่น หลังจากให้น้ำจนชุ่มแล้วประมาณ 3-4 ชั่วโมง หลังจากพ่นยาแล้วควรหยุดให้น้ำก่อนประมาณ 2-3 วัน
ที่มา:https://www.vichakaset.com/%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%b5%e0%b8%a2/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น