ดอกไม้ประจำชาติสหรัฐอเมริกา
ดอกกุหลาบ
สวัสดีค่ะมารู้จักกับดอกไม้ประจำชาติของสหรัฐอเมริกาไปรู้จักกันเลยค่ะ.
กุหลาบ
กุหลาบ
ชื่ออังกฤษ: rose,
ชื่อวิทยาศาสตร์: Rosa hybrids
กุหลาบมีต้นกำเนิดมาจากทวีปเอเชีย เป็นดอกไม้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของโลกอีกชนิดหนึ่ง มักปลูกไว้เพื่อความสวยงามของอาคารบ้านเรือน ใช้ดอกประดับตกแต่งในโอกาสต่างๆ ปลูกเป็นอาชีพ โดยมีการตัดดอกขาย เพื่อนำไปสกัดเป็นน้ำหอม หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆหรืออาจเพาะพันธุ์ต้นขายก็ได้ ประเทศที่ปลูกกุหลาบเป็นรายใหญ่ของโลก ได้แก่ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน สหรัฐอเมริกา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ อิสราเอล เยอรมนี เคนยา ซิมบับเว เบลเยียม ฝรั่งเศส เม็กซิโก แทนซาเนีย และมาลาวี เป็นต้น
คำว่า กุหลาบ มาจากภาษาฮินดี ที่อ่านว่า กุ-ลาพ ซึ่งในภาษาเปอร์เซียจะแปลว่า สีแดง คนไทยมักเรียกกันว่า คุ-ลาพ และกลายมาเป็นคำว่า กุหลาบในปัจจุบัน
พื้นที่ปลูกกุหลาบของประเทศไทยในปัจจุบันจะกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 5,500 ไร่ มีแหล่งปลูกที่สำคัญคือ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี กาญจนบุรี เป็นต้น
พื้นที่ที่เหมาะสมในการผลิตกุหลาบในประเทศไทยต้องเป็นพื้นที่ที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 800 เมตร จึงจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง หากปลูกในที่ราบจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพเฉพาะในช่วงหน้าหนาวเท่านั้น
การจำแนกกุหลาบสามารถทำได้หลายลักษณะ เช่น จำแนกตามความเจริญเติบโต ขนาดของดอก สีของดอก ลักษณะของดอก และความสูงของต้น แต่ในส่วนของกุหลาบตัดดอกที่ทำกันเป็นการค้าในตลาดโลกจะจำแนกได้ดังนี้
1. กุหลาบดอกใหญ่ หรือ กุหลาบก้านยาว (large flowered or long stemmed roses)
ประเภทนี้จะมีดอกใหญ่ ก้านยาว มีอายุในการปักแจกันสั้น ให้ผลผลิตประมาณ 100-150 ดอก/ตรม./ปี ประเทศที่นิยมกุหลาบชนิดนี้คือ สหรัฐอเมริกา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เม็กซิโก ญี่ปุ่น ซิมบับเว โมร๊อกโก ฝรั่งเศส และ อิตาลี สายพันธุ์ที่นิยมกัน ได้แก่ พันธุ์ เวก้า (Vega: แดง) , มาดาม เดลบา (Madam Delbard) , วีซ่า (Visa: แดง) , โรเท โรเซ (Rote Rose: แดง) , คารล์ เรด (Carl Red: แดง) , โซเนีย (Sonia: ชมพูส้ม) , เฟิร์สเรด (First Red: แดง) , โพรฟิตา (Prophyta: ปูนแห้ง) , บิอังกา (Bianca: ขาว) , โนเบลส (Noblesse: ชมพูส้ม) และ แกรนด์ กาลา (Grand Gala: แดง) เป็นต้น
ประเภทนี้จะมีดอกใหญ่ ก้านยาว มีอายุในการปักแจกันสั้น ให้ผลผลิตประมาณ 100-150 ดอก/ตรม./ปี ประเทศที่นิยมกุหลาบชนิดนี้คือ สหรัฐอเมริกา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เม็กซิโก ญี่ปุ่น ซิมบับเว โมร๊อกโก ฝรั่งเศส และ อิตาลี สายพันธุ์ที่นิยมกัน ได้แก่ พันธุ์ เวก้า (Vega: แดง) , มาดาม เดลบา (Madam Delbard) , วีซ่า (Visa: แดง) , โรเท โรเซ (Rote Rose: แดง) , คารล์ เรด (Carl Red: แดง) , โซเนีย (Sonia: ชมพูส้ม) , เฟิร์สเรด (First Red: แดง) , โพรฟิตา (Prophyta: ปูนแห้ง) , บิอังกา (Bianca: ขาว) , โนเบลส (Noblesse: ชมพูส้ม) และ แกรนด์ กาลา (Grand Gala: แดง) เป็นต้น
2. กุหลาบดอกกลาง หรือ กุหลาบก้านขนาดกลาง (medium flowered or medium stemmed roses)
เป็นชนิดที่มีอายุในการปักแจกันได้ยาวนาน ทนต่อการขนส่งได้ดี ให้ผลผลิตสูงประมาณ 150-220 ดอก/ตรม./ปี มีดอกขนาดกลาง ก้านยาวประมาณ 40-60 ซม. ประเทศที่นิยมปลูกกุหลาบชนิดนี้คือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิตาลี อิสราเอล ซิมบับเว เคนยา ส่วนพันธุ์ที่นิยมปลูกกัน ได้แก่ พันธุ์ ซาช่า (Sacha: แดง) , เมอร์ซิเดส (Mercedes: แดง) , เกเบรียล (Gabrielle: แดงสด) , คิสส์ (Kiss: ชมพู) , โกลเด้นทาม (Goldentime: เหลือง) , ซาฟารี (Safari: ส้ม) และ ซูวีเนีย (Souvenir: ม่วง) เป็นต้น
เป็นชนิดที่มีอายุในการปักแจกันได้ยาวนาน ทนต่อการขนส่งได้ดี ให้ผลผลิตสูงประมาณ 150-220 ดอก/ตรม./ปี มีดอกขนาดกลาง ก้านยาวประมาณ 40-60 ซม. ประเทศที่นิยมปลูกกุหลาบชนิดนี้คือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิตาลี อิสราเอล ซิมบับเว เคนยา ส่วนพันธุ์ที่นิยมปลูกกัน ได้แก่ พันธุ์ ซาช่า (Sacha: แดง) , เมอร์ซิเดส (Mercedes: แดง) , เกเบรียล (Gabrielle: แดงสด) , คิสส์ (Kiss: ชมพู) , โกลเด้นทาม (Goldentime: เหลือง) , ซาฟารี (Safari: ส้ม) และ ซูวีเนีย (Souvenir: ม่วง) เป็นต้น
3. กุหลาบดอกเล็ก หรือ กุหลาบก้านสั้น (small flowered or short stemmed roses)
ในประเทศเยอรมนี และเนเธอแลนด์ กุหลาบชนิดนี้จะได้รับความนิยมมาก เนื่องจากมีอายุในการปักแจกันที่ยาวนาน ทนต่อการขนส่งได้ดี ให้ผลผลิตสูงประมาณ 220-350 ดอก/ตรม./ปี ก้านมีความยาวประมาณ 30-50 ซม. พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่ พันธุ์ ฟริสโก (Frisco:เหลือง) , เอสกิโม (Escimo: ขาว) , โมเทรีย (Motrea: แดง) , เซอไพรซ์ (Surprise: ชมพู) , และ แลมบาด้า (Lambada: แสด) เป็นต้น
ในประเทศเยอรมนี และเนเธอแลนด์ กุหลาบชนิดนี้จะได้รับความนิยมมาก เนื่องจากมีอายุในการปักแจกันที่ยาวนาน ทนต่อการขนส่งได้ดี ให้ผลผลิตสูงประมาณ 220-350 ดอก/ตรม./ปี ก้านมีความยาวประมาณ 30-50 ซม. พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่ พันธุ์ ฟริสโก (Frisco:เหลือง) , เอสกิโม (Escimo: ขาว) , โมเทรีย (Motrea: แดง) , เซอไพรซ์ (Surprise: ชมพู) , และ แลมบาด้า (Lambada: แสด) เป็นต้น
4. กุหลาบดอกช่อ (spray roses)
เป็นกุหลาบชนิดใหม่ ในช่อหนึ่งๆ มักจะมีประมาณ 4-5 ดอก มีก้านยาวประมาณ 40-70 ซม. ให้ผลผลิตต่ำประมาณ 120-160 ดอก/ตรม./ปี พันธุ์ ที่นิยมปลูก ได้แก่ เอวีลีน (Evelien: ชมพู) เดียดีม (Diadeem: ชมพู) และ นิกิต้า (Nikita: แดง) เป็นต้น ตลาดของกุหลาบชนิดนี้มีค่อนข้างจำกัด
เป็นกุหลาบชนิดใหม่ ในช่อหนึ่งๆ มักจะมีประมาณ 4-5 ดอก มีก้านยาวประมาณ 40-70 ซม. ให้ผลผลิตต่ำประมาณ 120-160 ดอก/ตรม./ปี พันธุ์ ที่นิยมปลูก ได้แก่ เอวีลีน (Evelien: ชมพู) เดียดีม (Diadeem: ชมพู) และ นิกิต้า (Nikita: แดง) เป็นต้น ตลาดของกุหลาบชนิดนี้มีค่อนข้างจำกัด
5. กุหลาบหนู (miniature roses)
ดอกมีขนาดเล็ก ความทรงพุ่มสูงไม่เกิน 1 ฟุต ก้านดอกยาวประมาณ 20-30 ซม. ให้ผลผลิตสูงประมาณ 450-550 ดอก/ตรม./ปี ประเทศที่ต้องการกุหลาบชนิดนี้คือ ญี่ปุ่น แอฟริกา และอิตาลี
การคัดเลือกพันธุ์กุหลาบในปัจจุบันมีข้อพิจารณาดังนี้
มีผลผลิตสูง มีอายุการปักแจกันนาน สามารถดูดน้ำได้ดี ไม่มีหนามหรือหนามน้อย กุหลาบสีแดงเป็นที่ต้องการอันดับแรกของตลาด รองลงมาคือ สีชมพู สีอ่อน หรือสองสีในดอกเดียวกัน มีกลิ่นหอม ทนทาน และต้านทานโรคได้ดี
ดอกมีขนาดเล็ก ความทรงพุ่มสูงไม่เกิน 1 ฟุต ก้านดอกยาวประมาณ 20-30 ซม. ให้ผลผลิตสูงประมาณ 450-550 ดอก/ตรม./ปี ประเทศที่ต้องการกุหลาบชนิดนี้คือ ญี่ปุ่น แอฟริกา และอิตาลี
การคัดเลือกพันธุ์กุหลาบในปัจจุบันมีข้อพิจารณาดังนี้
มีผลผลิตสูง มีอายุการปักแจกันนาน สามารถดูดน้ำได้ดี ไม่มีหนามหรือหนามน้อย กุหลาบสีแดงเป็นที่ต้องการอันดับแรกของตลาด รองลงมาคือ สีชมพู สีอ่อน หรือสองสีในดอกเดียวกัน มีกลิ่นหอม ทนทาน และต้านทานโรคได้ดี
การขยายพันธุ์กุหลาบ
ทำได้ด้วยการตัดชำ การตอน การติดตา และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เกษตรกรมักนิยมติดตากุหลาบพันธุ์ดีกับต้นตอของกุหลาบป่า เพื่อให้ได้กุหลาบที่มีระบบรากที่แข็งแรง และให้ผลผลิตสูง
ทำได้ด้วยการตัดชำ การตอน การติดตา และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เกษตรกรมักนิยมติดตากุหลาบพันธุ์ดีกับต้นตอของกุหลาบป่า เพื่อให้ได้กุหลาบที่มีระบบรากที่แข็งแรง และให้ผลผลิตสูง
พื้นที่ที่เหมาะกับการปลูกกุหลาบต้องมีความเป็นกรดเล็กน้อย หรือมีค่า พีเอช ประมาณ 6-6.5 ดินสามารถระบายน้ำได้ดี ในแต่ละวันต้องได้รับแสงอย่างน้อย 6 ชม. อุณหภูมิที่ได้รับในตอนกลางคืนควรอยู่ที่ 15-18 องศาเซลเซียส และกลางวันควรอยู่ที่ 20-25 องศาเซลเซียส ถ้าความเข้มของแสงมาก และช่วงวันยาวกุหลาบจะให้ผลผลิตสูง และดอกมีคุณภาพดี
ระหว่างแถวปลูกควรให้น้ำระบบน้ำหยด หรือใช้หัวพ่นน้ำ ในอัตรา 6-7 ลิตร/ตร.ม./ วัน หรือ 49 ลิตร/ตร.ม./สัปดาห์ อาจให้ 2-3 วันต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพการอุ้มน้ำของดิน
ก่อนปลูกควรให้ปุ๋ยที่ผสมกับเครื่องปลูกก่อนการปลูกพืช ส่วนระหว่างที่พืชกำลังเจริญเติบโตควรให้ธาตุไนโตรเจน และโปแตสเซียมพร้อมกับการให้น้ำ
ก่อนปลูกควรให้ปุ๋ยที่ผสมกับเครื่องปลูกก่อนการปลูกพืช ส่วนระหว่างที่พืชกำลังเจริญเติบโตควรให้ธาตุไนโตรเจน และโปแตสเซียมพร้อมกับการให้น้ำ
เมื่อกุหลาบเริ่มติดตา ให้ทำการเด็ดยอดส่วนเหนือใบสมบูรณ์ใบที่สองจากยอด เพื่อให้ใบมีการสะสมอาหาร สร้างกิ่ง และให้มีดอกขนาดใหญ่ ซึ่งต้องทำอยู่ประมาณ 2-3 เดือน
การตัดแต่งกิ่ง จะรักษาใบไว้กับต้นให้มากที่สุด เพื่อให้ได้กิ่งที่สมบูรณ์ที่สุด เพื่อให้สะดวกต่อการดูแลรักษา และให้ได้รับแสงอย่างเพียงพอ ทรงพุ่มกุหลาบควรมีความโปร่ง และไม่สูงมากเกินไป เป็นการกระตุ้นให้เกิดกิ่งกระโดงอีกด้วย
โรคของกุหลาบ
โรคราน้ำค้าง (Downey mildew)
โรคราแป้ง (Powdery mildew)
โรคใบจุดสีดำ (black spot: Diplocarpon rosae)
โรคราสีเทา (botrytis: Botryotinia fuckeliana syn. Botrytis cinerea)
โรคกิ่งแห้งตาย (die back)
โรคราน้ำค้าง (Downey mildew)
โรคราแป้ง (Powdery mildew)
โรคใบจุดสีดำ (black spot: Diplocarpon rosae)
โรคราสีเทา (botrytis: Botryotinia fuckeliana syn. Botrytis cinerea)
โรคกิ่งแห้งตาย (die back)
แมลงศัตรูกุหลาบ
ไรแดง (Spider mite)
เพลี้ยไฟ (Thrips)
หนอนเจาะสมอฝ้าย (Heliothis armigera)
หนอนกระทู้หอมหรือหนอนหนังเหนียว (onion cutworm: Spodoptera exigua)
ด้วงกุหลาบ (rose beetle: Adoretus compressus)
เพลี้ยหอย (scale insect: Aulucaspis rosae)
เพลี้ยอ่อน (aphids: Macrosiphum rosae และ Myzaphis rosarum)
ไรแดง (Spider mite)
เพลี้ยไฟ (Thrips)
หนอนเจาะสมอฝ้าย (Heliothis armigera)
หนอนกระทู้หอมหรือหนอนหนังเหนียว (onion cutworm: Spodoptera exigua)
ด้วงกุหลาบ (rose beetle: Adoretus compressus)
เพลี้ยหอย (scale insect: Aulucaspis rosae)
เพลี้ยอ่อน (aphids: Macrosiphum rosae และ Myzaphis rosarum)
ในการเก็บเกี่ยวกุหลาบ ขณะที่ดอกกำลังตูมอยู่ หรือเมื่อกลีบดอกเริ่มแย้มจะเป็นระยะที่เหมาะสมที่สุด หากตัดในขณะที่ดอกยังอ่อนเกินไปก็จะทำให้ไม่บาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น